[IMV] ทำไมเราจำเป็นต้องวัดการสั่นสะเทือน?

      การแข่งขันทางธุรกิจของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตและความต้องการของตลาด ทำให้การผลิตสินค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เครื่องจักรที่ใช้งานตลอดเวลาไม่มีการหยุดพัก นานวันจะทำให้เครื่องจักรทรุดโทรมหรือเสียหายได้
ไม่ว่าจะมีอาการเสียงดังผิดปกติ,สั่นสะเทือน,ความร้อนและอื่นๆที่เกิด ส่งผลให้สภาพแวดล้อมและสภาพจิตของพนักงานแย่ลง จนกระทั่งเมื่อเครื่องจักรเกิดการ Breaks Down หรือพังเสียหาย ผลกระทบที่ได้รับอันดับแรกเลย นั้นก็คือ “เสียเงินก้อนใหญ่” คุณต้องใช้จ่าย เงินมากมายเพื่อทำการซ่อมแซมเครื่องจักรและอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆมากขึ้นโดยที่ไม่รู้ตัว เช่น ค่าอะไหล่, ค่าเเรงทีมงานช่างซ่อม เป็นต้น เมื่อใช้จ่ายค่าซ่อมแซมแล้วมาควบคู่กับ “ใช้เวลาในการซ่อมบำรุง” แน่นอนว่าการซ่อมบำรุงต้องใช้ระยะเวลาที่นานพอสมควรที่จะตรวจสอบหาสาเหตุของอาการเสียของเครื่องจักร หาอะไหล่ซ่อมแซม หาทีมงานซ่อม วางแผนการซ่อม ซึ่งอาจจะเพิ่มเวลาให้มาขึ้นไปอีก ทำให้เสียเวลาในการผลิตและเสียรายได้ ซึ่งผลกระทบโดยภาพรวมคือ“โอกาสในการทำกำไรน้อยลง”ถ้าเกิดการหยุดผลิตสินค้าไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตาม กำไรที่ได้จากสินค้าลดลงเพราะต้นทุนสินค้าต่อชิ้นมีราคาสูงขึ้น

 

 

ป้องกันเครื่องจักรของคุณก่อนที่จะได้เกิดปัญหาเหล่านี้ และผลกระทบที่ตามมาอย่างไม่คาดคิดด้วยเครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน ช่วยให้การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามมาตรฐาน ISO 10816-3: 2009(ISO Vibration Evaluation Standard) มาตรฐานนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการวิเคราะห์และสังเคราะห์ของเครื่องจักรที่มีการหมุน (rotational machinery) โดยค่าสัมบูรณ์ของความเร็วเพื่อบอกระดับความผิดปกติของการสั่นสะเทือน ที่สำคัญค่าที่วัดได้ต้องมีแม่นยำสูง,เที่ยงตรงและได้มาตรฐาน

 

ข้อดีของการวัดการสั่นสะเทือน

การบำรุงรักษาเครื่องจักรแบบคาดการณ์ล่วงหน้าและใช้กันอย่างแพร่หลายโดยการใช้เครื่องมือต่างๆ แต่การวัดความสั่นสะเทือนคือวิธีการที่นิยมมากที่สุด

  • เหมาะที่สุดสำหรับการวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่นๆเนื่องจากมีความไวสูง
  • ให้ข้อมูลทางเทคนิคจำนวนมากทำให้ง่ายต่อการกำหนดวิธีการวิเคราะห์
  • ต้นทุนต่ำและติดตั้งง่าย

STEP 2 : การใช้งาน WinGP

WinGP สามารถจำลอง PLC เป็น HMI Proface ได้ และสามารถใช้ Serial Port หรือ Ethernet Port สำหรับสื่อสารกับ PLC หรืออุปกรณ์ device

 

1. เปิดโปรแกรม WinGP

 

2. โปรแกรมสามารถ Trial ได้ 3 ชั่วโมง (เมื่อครบเวลาต้องทำการปิด และเปิดโปรแกรม WinGP ขึ้นมาใหม่)

 

3. โปรแกรม WinGP พร้อมใช้งาน (ต้อง transfer โปรเจคไฟล์เข้าไปเพื่อใช้งาน)

 

  • WinGP รอการดาวน์โหลดโปรเจคไฟล์เพื่อใช้งาน

STEP 3 : Transfer โปรเจคไฟล์ลงใน WinGP

เลือก Display Unit ของโปรเจคไฟล์เป็น IPC Series(PC/AT)

 

1. เลือก Transfer โปรเจคไฟล์โดยใช้ “LAN”

 

2. เลือก ip address ของ WinGP (ip เดียวกันกับ PC และต้องเปิด WinGP ไว้)

 

3. ทำการ transfer โปรเจคไฟล์

 

4. WinGP แสดงโปรเจคไฟล์ที่ transfer เข้าไป

สามารถใช้งาน WinGP จำลองการทำงาน HMI Proface บน PC ได้แล้ว ~ “

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง